สมุนไพรจากธรรมชาติ ชาเขียว Green Tea Camellia หรือ ชาน้ำมันหรือพินอิน

ชาเขียว อีกหนึ่งสมุนไพรจากธรรมชาติ ที่มีสรรพคุณดีๆต่อร่างกาย
ดอก camellia หรือ ดอกชาน้ำมัน (ชาเขียว) 
เอมไทย "ส่งมอบมรดกสุขภาพจากภูมิปัญญาไทยมาสู่คุณ" พามารู้จัก
Camellia ( Green Tea) ชาเขียวสมุนไพรจากธรรมชาติ หรือ ชาน้ำมันหรือพินอินกันนะ

                  เอมไทยมาบอกเล่า เรื่องสมุนไพรวันนี้ ขึ้นชื่อมาแบบนี้เพื่อนๆหลายคนคงงง งง เอๆๆ ชาเขียว Green Tea Camellia  เกี่ยวข้อง ยังไงกัน  จริงๆแล้ว ก็คือชื่อของ ชาเขียว ที่เราคุ้นเคยกันนั้นเอง
ซึ่งสมุนไพรนี้ดีขนาดไหนเหตุใดเอมไทยจึงน้ำมาใช้เป็นวุัตถุดิบในการผลิตสินค้า

               วันนี้เรามาทำความรู้จักกันเพิ่มขึ้นเนอะ สำหรับ พืชสมุนไพร มหัศจรรย์นี้ ชาเขียววววว
ต้นชา Camellia (ชื่อวิทยาศาสตร์: Camellia sinensis)เป็นพืชที่นำใบและยอดอ่อนไปผลิตเป็นชาจีน อยู่ในสกุล Camellia (ภาษาจีน: 茶花; พินอิน: Cháhuā, ตรงตัว: "ดอกชา") ดอกคาร์มีเลีย คนญี่ปุ่นเรียก สึบากิ อยู่ใน Family Theaceae เป็นพืชดอกดั้งเดิมมาจากเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ หิมาลัยตะวันออกไปจนถึง ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย โดยในธรรมชาติมีมากมายกว่า 100 – 250 speciesและอยู่ในวงศ์ Theaceae ชาขาว ชาเขียว ชาอูหลง และชาดำถูกเก็บเกี่ยวจากพืชสมุนไพรสปีชีส์นี้ทั้งหมด แต่กระบวนการผลิตต่างกัน ทำให้มีระดับของปฏิกิริยาออกซิเดชันต่างกัน กูกิชะ (Kukicha)ทำมาจากต้นชาชนิดเดียวกันแต่ใช้กิ่งและก้านแทนใบ มีสองสายพันธุ์คือ ชาจีน (Camellia sinensis var. sinensis) และชาอัสสัม (Camellia sinensis var. assamica)

ข้อมูลเยอะหน่อยเนอะ แต่เป็นเพราะสรรพคุณเยอะไงจร้า


ดอกสีขาวก็สวยยย ดูคล้ายๆกุหลาบเนอะ



โดยดอกคาร์มีเลียจะเป็นช่อดอกไม้ที่จะสร้างความปลาบปลื้มใจได้ไม่น้อยให้กับผู้รับ เอมไทยจึงเลือกนำมาใส่ในผลิตภัณฑ์เพราะต้องการมอบสิ่งดีๆให้แก่ทุกคนที่มาเลือกใช้เอมไทย  โดยหากเลือกพันธุ์ที่มีกลิ่นหอมนาน  เช่น บ๊อบ โฮป ซึ่งมีสีแดง อย่างไรก็ดี อย่าลืมแนะนำผู้รับว่าคาร์มีเลียชอบอากาศเย็นเพระฉะนั้นการวางคาร์มีเลียไว้ริมหน้าต่างก็จะดูดีไม่น้อย ซึ่งดอกจากชาเชียวเนี่ย เหมือนดอกกุหลาบจังเลยเนอะ
ชื่อของคาร์มีเลีย เป็นชื่อ genus ของไม้ดอกโดย Carolus Linnaeus ชาวสวีเดน ในปี 1707 ซึ่งเป็นโบตานิสที่มีชื่อเสียงของโลก ซึ่งเป็นผู้ที่ริเริ่ม Binomiak system ซึ่งบ่งบอกสายพันธุ์โดยใช้ภาษาละติน 2 คำ ซึ่งเป็นการตั้งชื่อของ Jesuit botanist George Joseph Kamel ซึ่งนามสกุลในภาษาละตินคือ Camellus

การใช้ประโยชน์

ดอกคาร์มีเลียนั้น เป็นไม้ประดับที่มีดอกหลากหลายสีตั้งแต่ สีขาว, ชมพู, แดง และเหลืองซึ่งมีให้เห็นน้อยมาก ดอกนั้นมีทั้งกลีบชั้นเดียวและกลีบซ้อน เป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น ได้ทราบมาว่าที่เชียงใหม่ก็มีขาย ถ้าต้นสูงใหญ่กว่าคน ราคาจะแพงมากประมาณ 6,000 - 10,000 บาท แต่ถ้าต้นเล็กๆ ก็ไม่กี่ร้อยบาท โดยทั่วไปจะโตประมาณ 30 เซนติเมตรต่อปีจนโตเต็มที่ขึ้นกับแหล่งที่ปลูกด้วย

ภาพแหล่งปลูกชานี้อินเดีย ก็มีปลูกนะ


ดอกคาร์มีเลีย ชนิด Sinensis หรือ Oleifera มีประโยชน์มากในทางการค้า โดยใบเอามาทำชา และเมล็ดสกัดน้ำมันชาใช้ในการปรุงรส ปรุงอาหาร  และชาก็ช่วยดับกลิ่นปาก เอมไทยจึงนำมาใส่ในยาสีฟัน น้ำมันเมล็ดชาเป็นที่รู้จักในประเทศจีนนานกว่า 1,000 ปี มาแล้ว เนื่องจากมีองค์ประกอบของไขมันที่ดีต่อร่างกายไม่ด้อยไปกว่าน้ำมันมะกอก และไม่มีกรดไขมันทรานส์ ซี่งทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินเอ ดี อี และเค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอมไทยนำมาใส่ในยาสีฟันเพื่อช่วยให้เหงือกแข็งแรง นอกจากนี้น้ำมันชายังมีกรดไขมันอิ่มตัวซึ่งไม่ดีต่อร่างกายต่ำ ในขณะที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว หรือกรดโอเลอิก (กรดโอเมก้า 9) สูงถึงประมาณ 87-81% กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (กรดโอเมก้า 6) ประมาณ 13-28% และ กรดแอลฟาไลโนเลอิก (กรดโอเมก้า 3) ประมาณ 1-3% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเหล่านี้สามารถช่วยลดระดับ LDL (คลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่มระดับ HDL (คลอเรสเตอรอลชนิดดี) ในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน โรคอัมพาต โรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจได้ จึงดีต่อสุขภาพของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ
 
สีนี้ก็สวย
นอกจากน้ำมันชาจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูงอย่างวิตามินอีและสารคาเทชิน ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานของน้ำมันให้นานขึ้น น้ำมันชายังมีจุดเดือดเป็นควันสูงถึง 252 องศาเซลเซียส (486 ฟาเรนไฮต์) ทำให้สามารถประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทอดหรือการผัดในอุณหภูมิที่ไม่สูงมากนัก หรือเป็นส่วนผสมของน้ำสลัดหรือซอสหมักเนื้อสัตว์
นอกจากจะใช้ในการบริโภคและประกอบอาหารแล้ว น้ำมันชายังสามารถนำไปผลิตเป็นเครื่องสำอางค์บำรุงเส้นผมและผิวพรรณต่างๆ เช่น ครีมและโลชั่นบำรุงผิว ครีมกันแดด สบู่ ยาสระผม หรือผสมกับน้ำมันหอมระเหย จากการวิจัยน้ำมันจากเมล็ดชาเพื่อประโยชน์ทางเครื่องสำอางพบว่า โลชั่นที่ผสมน้ำมันชา 5% และ 10% ช่วยปรับสภาพผิวให้เรียบเนียนขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่น รวมถึงลดความหยาบกร้านและริ้วรอยบนผิวของผิวอาสาสมัครได้ใน 8 สัปดาห์ รวมถึงได้รับการยอมรับจากอาสาสมัครในระดับที่น่าพอใจ โดยประสิทธิภาพที่ได้จะใกล้เคียงกับน้ำมันแร่ กากเมล็ดชา (Tea seed meal) ที่ได้จากการหีบน้ำมันออกแล้วจะมีลักษณะเป็นแผ่นแบน (Tea seed cake) มีสารซาโปนินส์ประมาณ 11-18% เป็นส่วนประกอบ สารตัวนี้สามารถนำไปใช้เป็นสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟอง ใช้ในผลิตน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ รวมถึงน้ำยากำจัดศัตรูพืช หอยเชอรี่ในนาข้าว ช่วยลดแบคทีเรีย
อ่านแล้วอยากดื่มชากันเลยทีเดียว
สักแก้วเนอะอ่านจบแล้ว

รู้แบบนี้แล้ว เอมไทยจึงเลือก น้ำมันชาจาก Camellia เพื่อมอบสิ่งดีให้กับผู้ใช้ทุกๆคนจร้า

เอมไทยเรียบเรียงและขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://paperwhitenarcissus.blogspot.com
http://www.teaoilcenter.org
https://th.wikipedia.org/   
https://pixabay.com

กดติดตามและถูกใจได้ที่
www.facebook.com/aimthaiorganic   line ID @aimthai


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข่อย"สมุนไพรยาสีฟันของพระพุทธเจ้า"

สมุนไพร จาก ธรรมชาติ

หัตถการทางการแพทย์ไทย