ข่อย"สมุนไพรยาสีฟันของพระพุทธเจ้า"

             เอมไทยมาบอกเล่า    วันนี้มารู้จักข่อย "ยาสีฟันของพระพุทธเจ้า" และที่มาของการใช้ข่อยมาเป็น 1 ในส่วนผสมของ "ยาสีฟันสมุนไพรออร์แกนิค เอมไทย"

        

          ข่อย ชื่อสมุนไพรชนิดนี้ คนไทยส่วนใหญ่จะเคยได้ยิน แต่อาจจะไม่รู้สึกถึงสรรพคุณกันเยอะนัก และอาจจะไม่เคยเห็นหน้าตาของสมุนไพรนี้ วันนี้เรามารู้จักกัน

   สมัยโบราณผู้คนมักนำข่อยมาทุบให้แตกแล้วใช้แปรงทำความสะอาดช่องปากและฟัน ซึ่งในสมัยนั้นข่อยถือเป็นผู้ช่วยดูแลรักษาช่องปากและฟันได้ดี และยังมี “สมุดข่อย” เพราะไม้ข่อยทนต่อแมลงที่มากัดกินได้หลายชนิด จึงนำมาใช้จดเรื่องราวต่างๆต่างๆ ทางประวัติศาสตร์
 
  
      อย่างในบันทึกทั้งในศาสนาพุทธ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๘. ทันตกัฏฐสูตร
๘. ทันตกัฏฐสูตร
ว่าด้วยไม้สีฟัน
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย โทษของการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตาฝ้าฟาง
๒. ปากเหม็น
๓. ประสาทที่นำรสอาหาร ไม่หมดจดดี
๔. ดีและเสมหะหุ้มห่ออาหาร
๕. อาหารไม่อร่อยแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย โทษของการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตาสว่าง
๒. ปากไม่เหม็น
๓. ประสาทที่นำรสอาหาร หมดจดดี
๔. ดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร
๕. อาหารอร่อยแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
           และสมัยเมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงอุทกฆรสูตร ( สูตรว่าด้วยเรื่องห้องน้ำ ) พระองค์ต้องการให้สาวกของพระองค์จดจำธรรมะ ว่าด้วย การชำระ (ขจัด ) ดังนั้นพระองค์จึงใช้กิจวัตรประจำวัน บรรจุความหมายอันแท้จริงของพระองค์ไว้ ซึ่งพระองค์ได้บันทึกไว้ ในการอธิบาย เรื่องการทำบุญจากการให้ทานวัตถุ 7 ประการ ในวัตถุ 7 ประการนั้นได้แก่

1. น้ำสะอาด
2. ไฟ , ประทีป
3. สบู่
4. ไม้สีฟัน
5. ขี้เถ้าสด
6. ยาขี้ผึ้ง
7. เครื่องนุ่งห่มภายใน


           พระองค์ใช้วัตถุ 7 ประการนี้ เพื่อแสดงความหมายธรรม 7 ประการ อีกแบบหนึ่งเพื่อพัฒนาบุคคลเพื่อขจัดโมหะและสิ่งสกปรกออกจากใจที่ถูกมันห่อหุ้มอยู่

ปริศนาธรรมข้อแรก คือ ให้น้ำสะอาด ซึ่งหมายความว่า ให้รู้จักชำระส่วนเกินของชีวิตออกไป เสมือนน้ำสะอาดชำระความสกปรกของร่างกายออกไปฉันนั้น

ข้อที่ 2. ให้ไฟหรือประทีป หมายถึง ปัญญา ซึ่งรอบรู้อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งรูปธรรมนามธรรม เสมือนไฟที่ทำน้ำเย็นให้อุ่นได้

ข้อที่ 3. การให้สบู่ หมายถึง การรู้จักแบ่งแยกระหว่างของสะอาดและของสกปรก ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติเพื่อเลิกละความชั่ว เสมือนสบู่ที่ใช้เพื่อขจัดความสกปรกออกไป

ข้อที่ 4. การให้ไม้สีฟัน หมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสามารถชำระล้างมลทินต่าง ๆ อันเกิดจากความหลงได้ เสมือนไม้สีฟัน เมื่อเคี้ยวไม้สีฟันประจำ จะทำให้ลมหายใจสะอาด

ข้อที่ 5. การให้ขี้เถ้าสด หมายถึง อจลศรัทธา ( ความเชื่ออันไม่หวั่นไหว ) ซึ่งทำให้ขจัดความสงสัยทุกอย่างได้ เสมือนขี้เถ้าบริสุทธิ์ ใช้ทาร่างกายเพื่อป้องกันโรค 

ข้อที่ 6. การให้ยา – น้ำมันขี้ผึ้ง หมายถึง มีความอดทน (ขันติ ) ซึ่งสามารถจะเอาชนะความอวดดื้อถือดี และความหน้าด้านของตนเอง ได้เสมือนขี้ผึ้งซึ่งใช้นวดลำตัวให้หายปวดเมื่อยได้

ข้อที่ 7. การให้เครื่องนุ่งห่มภายใน หมายถึงให้มีหิริ – โอตตัปปะ(มียางอาย ) ซึ่งให้รู้จักแก้ไขความชั่วของตนเองอยู่เสมอ เหมือนเครื่องนุ่งห่มภายใน ใช้นุ่งห่มร่างกายเพื่อปกปิดส่วนที่น่าเกลียดน่าละอาย

ปริศนาธรรม 7 ประการนี้ เป็นความหมายที่ถูกต้องของพระสูตรซึ่งพระตถาคตเจ้าได้ตรัสบอกแก่สาวกแห่งมหายาน ให้มีสายตายาวไกล ไม่เป็นคนใจแคบด้วยทัศนะมืดมน เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนทุกวันนี้ทำด้วยความไม่เข้าใจ ( ความหมายที่แท้จริง )

      เพิ่มเติม ศาสนาอิสลามได้สอนวิธีการดูแลสุขภาพภายในช่องปากไว้ตั้งแต่ 1400 กว่าปีมาแล้ว ด้วยการใช้ไม้สีฟันMiswak (ทำมาจากรากหรือกิ่งของต้น Arak เป็นไม้ในตระกูลส้มมะนาว )


           เราไปทำความรู้จักกับสรรพคุณและประโยชน์ของข่อยกันดีกว่า

“ข่อย” อีกหนึ่งไม้มงคลที่ควรปลูกไว้รอบบ้าน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใบข่อย

    ปัจจุบันผู้คนนิยมปลูกต้นข่อยไว้เพื่อทำรั้ว โดยอาจมีการดัดปรับแต่งเป็นรูปร่างต่างๆ เรียกว่า “ต้นข่อยดัด” ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าข่อยเป็นไม้มงคล หากปลูกในวันเสาร์เอาไว้รอบๆ บ้าน และปลูกทางทิศตะวันออกจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความอดทน แข็งแกร่ง มีความมั่นคง ช่วยป้องกันศัตรูหรือผู้ไม่หวังดี ส่วนใบข่อยยังใช้นำมาพัดโบกเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้านได้ด้วย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

           "ข่อย" จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นและกิ่งคดงอ มีปุ่มอยู่รอบๆ ต้นหรือเป็นพูเป็นร่อง เปลือกต้นบางขรุขระแตกเป็นแผ่นบางๆ มีสีเทาอ่อน และมักมียางสีขาวข้นเหนียวๆ ซึมออกมา ใบข่อยมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปรีแบบไข่หัวกลับเรียงสลับกัน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบมีสีเขียว เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ส่วนดอกข่อยจะออกดอกเป็นช่อสีขาวเหลืองอ่อน โดยจะออกตามปลายกิ่ง ตามซอกใบ ดอกเดี่ยวรวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกอยู่ต่างดอกกัน นิยมขยายพันธุ์โดยการใช้รากปักชำ กิ่งปักชำ และการเพาะมล็ด เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงได้ถึง 5-15 เมตร

     ทั้งนี้ แต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกต้นข่อยแตกต่างกันออกไป ภาคเหนือเรียกว่า “กักไม้ฝอย” ภาคอีสานเรียก “ส้มผ่อ” ภาคใต้เรียก “ขันตา” หรือ “ขรอย” เขมรเรียก “สะนาย” เป็นต้น โดยพบได้มากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศไทย

11 สรรพคุณของข่อย ประโยชน์ที่มากกว่าดูแลช่องปากและฟัน

1. ข่อยมีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย และสามารถใช้เป็นยาบำรุงหัวใจได้ โดยพบว่าใบข่อยมีสารบำรุงหัวใจมากกว่า 30 ชนิด

2. สรรพคุณของเมล็ดข่อยกินเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยทำให้เจริญอาหาร

3. ประโยชน์ของข่อยช่วยให้ฟันแข็งแรง ไม่ปวดฟัน ฟันไม่ผุ ช่วยแก้รำมะนาด โดยใช้กิ่งสดประมาณ 5-6 นิ้วฟุต นำมาหั่นต้มใส่เกลือแล้วเคี่ยวให้งวด จนเหลือน้ำแค่ครึ่งเดียว นำมาอมกลั้วปากเช้าและเย็น

4. เมล็ดข่อยช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหารได้ดี โดยให้นำเมล็ดมาต้มน้ำอมบ้วนปาก

5. ประโยชน์ของเปลือกของต้นข่อยช่วยแก้ริดสีดวงจมูก โดยใช้เปลือกต้นนำมามวนทำเป็นยาสูบ

6. เปลือกข่อยมีสรรพคุณช่วยดับพิษภายในร่างกาย ช่วยแก้ไข้ โดยนำเปลือกมาต้มกับน้ำแล้วดื่ม

7. เปลือกข่อยช่วยแก้อาการท้องร่วง บิด ท้องเสีย โดยให้ดื่มน้ำต้มจากเปลือกข่อย แต่หากมีอาการท้องผูกให้นำใบข่อยสดๆ มาปิ้งไฟชงกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ ได้

8. เปลือกข่อยช่วยรักษาแผล รักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้

9. ประโยชน์ของข่อยบรรเทาปวดประจำเดือนได้ สำหรับสตรีที่มีอาการปวดมดลูกในระหว่างมีประจำเดือน ให้นำใบข่อยมาคั่วให้แห้งแล้วชงกับน้ำดื่ม จะช่วย บรรเทาอาการได้

10. ยางจากต้นข่อยมีน้ำย่อยที่ชื่อว่า milk (lotting enzyme) มีประโยชน์ในการช่วยย่อยน้ำนมได้ดี และยางข่อยยังนำมาใช้กำจัดแมลงได้ด้วย

11. ไม้จากต้นข่อยนำมาใช้ทำเป็นสมุดไทยหรือสมุดข่อยได้ ดังที่ในอดีตนำไม้จากต้นข่อยมาทำเป็นสมุด เพราะเนื้อไม้ข่อยมีความคงทนแข็งแรง

      เห็นหรือยังว่าสรรพคุณและประโยชน์ของข่อยเป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าส่งต่อกาลเวลามาถึงเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หากใครที่กำลังมองหาไม้มงคลมาปลูกไว้ที่บ้านเพื่อความสวยงามและเป็นมงคล ทั้งยังสามารถนำส่วนต่างๆ ของต้นมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรเพื่อดูแลบำบัดรักษาอาการที่เกิดกับคนเราได้ด้วย ก็อย่าลืมพิจารณา “ข่อย” มาปลูกไว้ใกล้ๆ ตัวคุณ

            ส่วนตำรายาไทย: ใช้ กิ่งสด ขนาดเล็กนำมาทุบใช้สีฟัน ฆ่าเชื้อในปาก ทำให้เหงือกและฟันทน เปลือกต้น นำมาต้มใส่เกลือให้เค็มใช้รักษาโรครำมะนาด แก้โรคฟัน รักษาฟันให้แข็งแรง แก้ปวดฟัน ดับพิษในกระดูกในเส้น แก้พยาธิผิวหนัง เรื้อน มะเร็ง ดับพิษทั้งปวง หุงเป็นน้ำมันทาหัวริดสีดวง ปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง คุมธาตุ เปลือกใช้มวนสูบรักษาริดสีดวงจมูก เปลือกต้นต้มกับน้ำใช้ชะล้างบาดแผล สมานแผล และโรคผิวหนัง ทั้งต้น ต้มใส่เกลือ แก้ฟันผุ กระพี้ แก้พยาธิ แก้มะเร็ง ฝนกับน้ำปูนใสทาแก้ผื่นคน เยื่อหุ้มกระพี้ ขูดเอามาใช้ทำยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก
           ตำรายานครราชสีมา: ใช้ เปลือกต้น แก้รำมะนาด โดยนำเปลือกผสมกับเกลือทะเลอย่างละเท่าๆกัน ต้มให้เกลือละลาย อมเช้า-เย็น หลังอาหารและก่อนนอน
           ตำราเภสัชกรรมล้านนา: ใช้ ใบ เปลือก ราก และเมล็ด รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
           ในพม่า: เปลือกต้น ใช้แก้ท้องร่วง แก้ปวดฟัน ช่วยให้ฟันแข็งแรง ต้มน้ำกินแก้ไข้ แก้บิด แก้ท้องเสีย และแก้มะเร็ง เป็นยาอายุวัฒนะ

    รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ตำรายาแผนไทย: ใช้กิ่งสดยาวประมาณ 5-6 นิ้ว หั่น ต้มใส่เกลือเคี่ยวให้งวดเหลือน้ำครึ่งหนึ่ง อมเช้า เย็น ทำให้ฟันทน และไม่ปวดฟัน
           กิ่งข่อยขนาดเล็กทุบให้นิ่มนำมาแปรงฟันให้สะอาด ฟันแข็งแรงไม่ผุ
           เปลือกต้นประมาณ  1  ฝ่ามือ  สับ  ต้มกับน้ำพอควร  เติมเกลือให้มีรสเค็ม  ต้มนาน  10-15  นาที  อมน้ำขณะอุ่น ๆ วันละ  3-4  ครั้ง ใช้บรรเทาอาการปวดฟัน

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ได้มีผลวิจัยด้วย ดังนี้
             สารสกัดจากใบข่อยมีฤทธิ์ลดจำนวนเชื้อ S. mutans ในช่องปาก

Streptococcus mutans เป็นเชื้อแบคทีเรียสำคัญที่ทำให้เกิดหินปูน ( plaque ) และฟันผุ การศึกษาแบบ Single blind crossover ในอาสาสมัครจำนวน 30 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารสกัดใบข่อยเตรียมในรูปยาน้ำบ้วนปากต่อการทำลายเชื้อ S. mutans เปรียบเทียบกับน้ำกลั่น พบว่าเมื่อให้อาสาสมัครบ้วนปากด้วยตัวอย่างทดสอบ 20 มล. นาน 60 วินาที สารสกัดใบข่อยมีผลลดปริมาณเชื้อ S. mutans ในช่องปากได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับน้ำกลั่น และมีฤทธิ์อยู่ได้นานอย่างน้อย 6 ชม. มีข้อดีคือไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอื่นในช่องปาก เช่นความเป็นกรด-ด่างของน้ำลาย



       ตรงนี้แหละ ที่ยาสีฟันสมุนไพร ได้นำประโยชน์ตรงนี้ของข่อย มาเป็นส่วนผสม ซึ่งให้ทดแทนสาร ฟลูออร์ไรด์ ได้เป็นอย่างดี
        ยาสีฟันสมุนไพรออร์แกนิคเอมไทยก็ได้ใช้สรรพคุณนี้ มาเป็นส่วนผสมเพื่อให้ ทุกๆคนที่ได้ใช้ยาสีฟันเอมไทย ทั้งสูตรของผู้ใหญ่ และของเด็ก มีสรรพคุณครบถ้วน ในการดูแลรักษาช่องปาก เหงือก และฟัน

ใช้เอมไทยฟันไม่ผุด้วย ฟลูออไรด์จากสมุนไพร "ข่อย"

เอมไทยเรียบเรียง

ขอบคุณข้อมูล และภาพประกอบจาก

www.tairomdham.net
tripitaka-online.blogspot.com
www.thaidentalmag.com
www.medplant.mahidol.ac.th
www.thaicrudedrug.com
www.pixabay.com
www.google.com

ติชมและแนะนำข้อมูลได้ที่ www.facebook.com/aimthaiorganic Lina ID @aimthai

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สมุนไพร จาก ธรรมชาติ

หัตถการทางการแพทย์ไทย